|
![]() | ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมื่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเมื่อติดยาเสพติด
24 มิถุนายน 2565 |
![]() | 22 เมษายน 2564 |
![]() | 22 เมษายน 2564 |
![]() | ประชาสัมพันธ์สื่อให้ความรู้ เรื่อง การดูแลตัวเองและการปรับตัวใช้ชีวิตในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยเนื้อหาสื่อถึงการก้าวผ่านวิกฤตของประเทศไทย และให้กำลังใจเพื่อใช้ชีวิตวิถีใหม่ ดังวีดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch… https://www.youtube.com/watch… Cr.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 16 มิถุนายน 2563 |
![]() | วันที่ 15 มิ.ย. ของทุกปี เป็น “วันไข้เลือดออกอาเซียน” (ASEAN Dengue Day) “End Dengue : Starts with me” หรือ “หยุดไข้เลือดออก : เริ่มต้นที่ตัวเรา” 1. ชัยภูมิ 15 มิถุนายน 2563 |
![]() | 6 สิ่งที่ควรทำ เพื่อป้องกันโควิด-19 1. ล้างมือบ่อยๆหรือล้างด้วยเจลแอลกอฮอล์ 03 เมษายน 2563 |
![]() | ผู้สูงอายุเสี่ยงที่สุด ควรดูแลอย่างไรให้ปลอดภัยจากโควิด-19 02 เมษายน 2563 |
![]() | เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น หม่อนบุญ เป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก ปู่ ย่า ตา ยาย และเป็นความเชื่อส่วนบุคคล ปัจจุบันได้รับการพัฒนาและต่อยอดสืบทอดมาจากรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย อนุรักษ์การเป่ารักษาโรค การเรียนรู้คาถาโบราณ การรักษาด้วยวิธีธรรมชาติโดยใช้สมุนไพร สิ่งเหล่านี้ถือเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่รักษาคนเจ็บป่วยนั้น จึงถูกเรียกว่า “หมอเมือง” การสืบทอดการรักษาด้วยหมอเมืองนั้น เพราะเพื่อให้ยังคงอยู่แก่รุ่นลูก รุ่นหลานสืบไป ตั้งอยู่ หมู่ 9 บ้านทับเดื่อ ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมเป็นการรักษาคนป่วยตามคาถาฮาคม การเป่ารักษาโรค การให้หมอเมืองทำพิธีสืบชะตา ทำเทียนต่ออายุ ฯลฯ ทำการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยวิชาการที่สืบทอดมาจากปู่ย่าตายาย เป็นการรักษาตามประเพณีที่สืบทอดกันมา มีตำราหรือภาษาล้านนาเรียก “ปั๊บ” ตัวอักษรพื้นเมืองเป็นตำรา บอกสูตรยาสมุนไพร และเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ เพื่อจะนำความรู้ที่มีอยู่นั้นมารักษาผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วย ประโยชน์ที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้
ที่มา : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทับเดื่อ 05 เมษายน 2562 |
![]() | ศูนย์เรียนรู้ภาษาลาหู่ ตั้งอยู่ หมู่ 16 บ้านปางกื้ด ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พยัญชนะต้นภาษาลาหู่มี 36 รูป 36 เสียง คือ K K’ HK HK’ G G’ C C CH S SH T HT N Ny Ng D F H j L V y R P Hp B M PF HpF Bv MV TC TS TZ Z A มีสระจำนวน 12 รูป 12 เสียง คือ a I ui o ai ao eu aw aweh e eh u หรือ uh มีรูปวรรณยุกต์ มี 6 รูป 7 เสียง ประโยชน์ที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้นี้
ที่มา : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยตาด 10 มีนาคม 2562 |
![]() | การรักษาวินัย หมายถึง การที่ข้าราชการพลเรือนปฏิบัติตามวินัย ที่กำหนดไว้ และหมายความรวมถึงการที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องส่งเสริมและดูแลระมัดระวังให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามวินัย และดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ที่กระทำผิดวินัยด้วย มาตรฐานทางจริยธรรมของเทศบาลตำบลอินทขิล 1.เจ้าหน้าที่ดำรงตนตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ อดทน และมีความรับผิดชอบ 2.เจ้าหน้าที่พึงปฏิบัติหน้าที่อย่างเปิดเผยโปร่งใสพร้อมตรวจสอบ 3.เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยความเสมอภาคสะดวกรวมเร็ว มีอัธยาศัยไมตรีโดยยึดประโยชน์ของผู้รับบริการเป็นหลัก 4.เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสามัคคี โดยยึดผลสัมฤทธิ์ของงาน 5.เจ้าหน้าที่พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถของตนอย่างสม่ำเสมอและทันสมัย 04 มกราคม 2562 |
![]() | ไร่ชาระมิงค์ เป็นป่าต้นน้ำ การอนุรักษ์ป่า เป็นการศึกษาธรรมชาติ การบุกเบิกทำไร่ชาและผลิตชาอินทรีย์ เป็นองค์ความรู้ให้กับชุมชน เรื่องการปลูกชาและกาแฟ ตลอดจนถึงการส่งออกในตลาดโลก ตั้งอยู่ หมู่ 16 บ้านปางกื้ด ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประโยชน์ที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้นี้
ที่มา : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยตาด 12 ธันวาคม 2561 |
![]() | ครกกระเดื่อง เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น นางอรวรรณ ภูพิทักษ์ธรรม เป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก ปู่ ย่า ตา ยาย แบบเดิม ครกมือ เป็นการตำข้าวรุ่นแรก โดยใช้แรงมือในการตำข้าว ปัจจุบันได้รับการพัฒนาและต่อยอดจากครกมือเป็นครกเหยียบเท้า คือ ครกกระเดื่อง เพราะสามารถสร้างความสะดวกสบายมากกว่าการครกมือ และยังประหยัดเวลามากกว่าเดิม ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 40 หมู่ 16 บ้านปางกื้ด ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น
รายละเอียดของภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวครกทำด้วยท่อนไม้ขนาดใหญ่ตัดเป็นท่อน ขุดส่วนที่ใช้สำหรับเพื่อตำข้าวหรือสิ่งอื่นๆให้เป็นเบ้าลึกลงไป ให้สามารถบรรจุเมล็ดข้าวเปลือกได้ครั้งละ 1 ถัง คานไม้ยาวประมาณ 3-4 เมตรเพื่อนใช้สำหรับเจาะรูเส้าหรือสากไว้ตำข้าว ตั้งเสา 2 ต้น ฝังในดินให้แน่นและอยู่แนวเดียวกัน กลาวงเสาทั้ง2ต้น ใช้สิ่วเจาะรูแล้วสอดคานที่รูยืดเสาทั้ง 2 ต้น ให้ขนานกับพื้นดิน วางคานเส้าหรือสากให้ค่อนไปอยู่ปลายคาน ด้านตรงข้ามกับสากใช้คานสากตอกยึดกับคานไม้ที่ยึดเสา 2 ต้น ประโยชน์ที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้
ที่มา : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยตาด 26 พฤศจิกายน 2561 |
![]() | การทอผ้า(ย่ามลาหู่) แบบกี่เอว เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น นางสุดา วจนะอุดมเกษม เป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก ปู่ ย่า ตา ยาย แบบเดิม แบบเดิมเป็นการทอผ้าแบบกี่เอวและเป็นการปักผ้า เย็บผ้า ด้วยมือ ปัจจุบันได้รับการพัฒนาและต่อยอดคือมีการจัดอบรมเรียนรู้เพิ่มเติมให้กับกลุ่ม มีการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์จากเดิมให้ดูทันสมัยมากขึ้น ใช้งานสะดวกมากขึ้น แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์เดิมอยู่ ตั้งอยู่ หมู่ 16 บ้านปางกื้ด ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น
รายละเอียดของภูมิปัญญาท้องถิ่น หลักใหญ่ๆของการทอผ้า คือ การนำเส้นฝ้ายหรือไหมมาขัดกันให้เป็นสายโดยขึงเส้นกลุ่มหนึ่งเป็นหลัก เรียกว่าเส้นยืนแล้วใช้อีกเส้นหนึ่งเรียกว่าเส้นพุ่งสอดตามขวางของเส้นยืน เมื่อสายขัดกันจะเกิดลวดลายต่างๆ ผ้าบางชนิดผู้ทอจะคิดหาวิธีสอดด้ายและสอดสีสลับกันไปบางวิธีก็จะผูกและมัดเน้นเป็นช่วงๆหรืออาจจะ ยกด้ายที่ทอเป็นระยะทำให้เกิดลวดลายต่างๆสวยงาม ประโยชน์ที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้
ที่มา : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยตาด 24 พฤศจิกายน 2561 |
![]() | ส่าจ๊อย (ห่อนึ่งหมู) เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น นางนามี จะที เป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก ปู่ ย่า ตา ยาย แบบเดิม เมื่อสมัยก่อนทำส่าจ๊อย(ห่อนึ่งหมู) ใช้ในวันประเพณีกินข้าวใหม่เพื่อรองรับการมาเยือนของแขกที่มาร่วมงานประเพณีกินข้าวใหม่ ซึ่งมีการจัดงานปีละครั้ง ปัจจุบันเป็นเมนูอาหารที่นิยมทานกันบ่อยๆภายในครอบครัว และเป็นการสร้างรายได้เพื่อการทำขายออกสู่ตลาดภายนอก ตั้งอยู่ หมู่ 16 บ้านปางกื้ด ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น
รายละเอียดของภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำส่าจ๊อย(ห่อนึ่งหมู) ส่วนผสม หมูสับ พริกสด กระเทียม ตะไคร้ ผักชี หอมชู เปลือกต้นมะกอกป่านำมาขุดและสับให้ละเอียด วัสดุใช้ใบตองปาล์ม ตอกไม้ไผ่ขนาดเล็กนำกระเทียม พริกสด ตะไคร้สับ มาตำให้ละเอียด ใส่ผักชี หอมชู หั่นเป็นชิ้นเล็กๆนำส่วนผสมทั้งหมดมานวดให้เข้ากันใส่เกลือและผงปรุงรส จากนั้นตักใส่ใบตองและมัดจุกด้วยตอกไม่ไผ่แล้วนำไปนึ่งจนสุก ประโยชน์ที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้
ที่มา : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยตาด 15 ตุลาคม 2561 |
![]() | กระบุงสะพายหลังชาวเขา เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น นายโปลุ จะกล๊ะ เป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก ปู่ ย่า ตา ยาย แบบเดิม แบบเดิมเป็นการจักสานกระบุงสะพายหลังเพื่อใส่สิ่งของจำเป็น เป็นกระบุงเก็บใส่ยอดใบชาของชาวบ้าน ปัจจุบันได้รับการพัฒนาและต่อยอดดัดแปลงลวดลายการจักรสาน สร้างความคงทนให้มากขึ้น ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 64 หมู่ 16 บ้านปางกื้ด ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น
รายละเอียดของภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นภาชนะที่จักสานด้วยไม้ไผ่ล้วนๆ เป็นลวดลายต่างๆ ใช้สำหรับใส่สิ่งของต่างๆ ปากมีลักษณะเป็นรูปวงกลม ก้นมีรูปทรงสี่เหลี่ยมและมีหูห้อยตรงข้างๆตัว 2 ข้าง เอาไว้สำหรับร้อยเชือกเพื่อให้หาบหรือใส่สายต่างๆ ส่วนขนาดกระบุงแล้วแต่คนจักสานว่าต้องการขนาดไหน ประโยชน์ที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้ กระบุงสะพายหลังเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บใส่ยอดชาอ่อนหรือใช้สำหรับตักตวงข้าวเมล็ดพืช และใส่สิ่งของอื่นๆ ตามต้องการ
ที่มา : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยตาด 10 ตุลาคม 2561 |